ประวัติความเป็นมา

                 
         หนังตะลุง เป็นศิลปะการละเล่นพื้นเมืองชนิดหนึ่งในภาคใต้ ไม่มีประวัติความเป็นมาที่แน่นอน เป็นศิลปะการแสดงที่มีทั้งบทพากษ์ และบทเจรจา พบได้บริเวณที่ต่างๆ เช่น อียิปต์ จีน อินเดีย ตุรกี และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
         หนังตะลุงไทยมี 2 แบบ คือ หนังใหญ่ และ หนังตะลุง วายังเซียม วายังยาวอ ( ซึ่งทั้ง 3 ชนิดนี้พบในภาคใต้ของไทย และบางส่วนของภาคกลางในอดีต ) นิยมกันอย่างกว้างขวางในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะชายฝั่งตะวันออก ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง  ส่วนวายังเซียม และวายังยาวอ มีในบริเวณที่มีคนไทยมุสลิมโดยเฉพาะ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
         ในภาคใต้โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช  สงขลา ตรัง พัทลุง และชุมพร จะมีการแสดงหนังตะลุงค่อนข้างบ่อย ด้วยเป็นสิ่งที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวบ้านอย่างเห็นได้ชัด เมื่อมีการจัดงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือจังหวัด ก็มักจะมีหนังตะลุงมาแสดงอยู่ด้วยเสมอ งานหรือกิจกรรมใดๆที่ไม่มีหนังตะลุงแสดง มักจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากชาวบ้านว่า งานนั้นจืด กร่อย ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นอนาคตของหนังตะลุงได้อย่างแจ่มชัดว่า จะยังคงได้รับความนิยมชมชอบจากชาวบ้านอยู่อย่างกว้างขวางไม่แพ้ยุคสมัยที่ผ่านมา โดยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดง ที่แตกต่างกันตามพื้นที่ เท่าที่ทราบ ในปัจจุบันมี 3 รูปแบบ คือ
      1. หนังตะลุงตะวันออก เป็นรูปแบบการแสดงของกลุ่มชนแถบทะเลฝั่งตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสงขลา   
      2. หนังตะลุงตะวันตก เป็นภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยที่สำคัญอย่างหนึ่งของกลุ่มชนแถบฝั่งอันดามัน เช่น จังหวัดพังงา ภูเก็ต ( มีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างกัน ทั้งในการขับร้องบท การเจรจา รูปหนังและธรรมเนียมการเล่น ส่วนองค์ประกอบในการแสดงอื่นๆ มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน )
      3. หนังตะลุงมลายู หรือวายังกูลิต ชาวไทยมุสลิมเรียกว่า วอแยกูเละ หรือวายังกูเละ เป็นศิลปะการเล่นเงาที่นิยมแสดงกันมาช้านาน ในพื้นที่บริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ( ใต้...หรอย มีลุย. 2547,55 )

http://download.clib.psu.ac.th/datawebclib/exhonline/talung/page1.html
                   

1 ความคิดเห็น: