โรงหนังตะลุง



    โรงหนังตะลุง ต้องยกเสา 4 เสา (ใช้ไม้ค้ำเพิ่มจากเสาได้) ขนาดโรงประมาณ 2.3 X 3 เมตร พื้นยกสูงเลยศีรษะผู้ใหญ่เล็กน้อย และให้ลาดต่ำไปข้างหน้านิดหน่อย หลังคาเป็นแบบเพิงหมาแหงน กั้นด้านข้างและด้านหลังอย่างหยาบๆ ด้านหลังทำช่องประตูพาดบันไดขึ้นโรง ด้านหน้าใช้ผ้าขาวบางขึงเป็นจอ จอกว้างและยาวประมาณ 5 x 10 ฟุต ในโรงมีตะเกียงน้ำมันไขสัตว์หรือตะเกียงน้ำมันมะพร้าว หรือตะเกียงเจ้าพายุหรือดวงไฟแขวนไว้ใกล้จอสูงจากพื้นราว 1 ฟุตเศษและห่างจากจอราว 1 ศอก นอกจากนี้ยังมีต้นกล้วยวางไว้ข้างฝาทั้งสองข้างของโรง เพื่อไว้ปักพักรูปหนัง ประเภทรูปเบ็ดเตล็ด ส่วนบนเพดานโรงจะมีเชือกขึงไว้สำหรับแขวนรูปหนังประเภทรูปที่สำคัญซึ่งมีรูปพระ รูปนาง เป็นต้น 

สำหรับจอหนัง ทำด้วยผ้าขาว รูปสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1.8 x 2.3 เมตรทั้ง 4 ด้านมอบริมด้วยผ้าสี เช่น แดง น้ำเงิน ขนาดกว้าง 4 - 5 นิ้ว มีห่วงผ้าเรียกว่า หูรามเย็บไว้เป็นระยะโดยรอบ หูรามแต่ละอันจะผูกเชือกยาวประมาณ 2 ฟุต 5 นิ้ว เรียกว่า หนวดราม สำหรับผูกขึงไปประมาณ 1 ฟุตจะตีตะเข็บนัยว่าเป็นเส้นแบ่งแดนกับแดนมนุษย์ เวลาเชิดรูปมีเฉพาะรูปฤาษี เทวดา และรูปที่มีฤทธานุภาพเท่านั้นที่เชิดเลยเส้นนี้ได้ 



ตัวละครของหนังตะลุง

ตัวละครหนังตะลุง



          ตัวละครหนังตะลุงหรือรูปหนังตะลุง เป็นอุปกรณ์สำคัญ ในการแสดงหนังตะลุง หนังคณะหนึ่ง ๆ ใช้รูปหนังประมาณ 150 ? 200 ตัว ต้นแบบได้มาจากรูปหนังใหญ่ ซึ่งต้นแบบสำคัญคือรูปเรื่องรามเกียรติ์ ที่ฝาผนังรอบวัดพระแก้วผสม ผสานกับรูป หนังของชวาฃองรูปหนังตะลุงแต่ละรูปไม่มีชื่อเฉพาะตัว (ยกเว้นตัวตลก) เวลาจะแสดงนายหนัง จะเป็นผู้ตั้งชื่อของตัวหนัง แต่ละ ตัวตามเรื่องที่จะเล่น
 ฤาษี

    ฤาษีเป็นรูปครูที่มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์สามารถป้องปัดเสนียดจัญไร และภยันตรายทั้งปวงทั้งช่วยดลบันดาลให้หนังแสดง ได้ดี เป็นที่ชื่นชมของคนดู
    ขณะที่ออกฤาษี ดนตรีทำเพลง เชิด ตีทับกลอง โหม่ง ฉิ่ง ปี่ ซอ ทำจังหวะเร็ว นายหนังจับไม้ ตับ ฤาษีมือหนึ่ง อีกมือหนึ่ง จับไม้ มือห่างจากจอประมาณ 1 ศอก ให้เงาปรากฏบนจอเฉพาะมือฤาษี ชี้ไม้เท้าไปจากซ้ายของจอ หลบรูป 3 ครั้ง แล้วออกรูป ให้ส่วนหัวรูปทับกลางจอ เชิดถอยหน้าถอยหลัง หลบรูปเข้าทางซ้าย ออกจากทางซ้ายเชิด เหมือน ครั้งแรก หลบรูปเข้าทางซ้าย เรียกว่าฤาษีท่องโรง แล้วออกรูปทางขวา ทับรูปกลางจอให้ส่วนล่างห่างจากจอประมาณ 4 นิ้ว ดนตรีทำเพลงเดิน การเดินรูป ฤาษี มีลีลาการเดินโดยเฉพาะ คล้ายคนแก่เดิน ชี้ไม้เท้าไปข้างหน้า งอแขนเล็กน้อย กดไม้เท้า ลงต่ำแล้วแกว่งแขนมาสุดหลัง แกว่งกลับไปหน้าสลับกัน 9 ครั้ง มือนายหนังบิดไม้ตับไปมา สลับกันทำให้เกิด เงาเหมือน อาการ เดินจริง ๆ แล้วยกรูปขึ้นสูงกว่า เดิมเล็กน้อย บอกสัญญาณให้ลูกคู่ทราบว่า ต่อไปเดินเร็ว ทำเพลงเดินจังหวะเร็ว การเดินและนาดรูป มีลักษณะเหมือน การเดิน ครั้งแรก แต่ลีลาการเดินเร็วขึ้น นาดรูป 9 ครั้ง ดนตรีเปลี่ยนจังหวะเพลงเดินเป็น 3 จังหวะ ภาษาชาวบ้านเรียกว่าฤาษีขุดมัน และฤาษีตกบ่อท่าละ 9 ครั้ง แล้วยกรูปฤาษีสูงขึ้น ทำ เพลงเชิดหลบรูปเข้าทางซ้าย ออกมา ทางขวา รูปอยู่กลางจอ เวียนไม้ตับช้า 3 รอบ ปักไม้ตับกับหยวก ลงเครื่อง นายหนังร่ายมนต์เบา ๆ เริ่มตั้งนโม 3 จบ ตั้งสังเคชุมนุมเทวดา แล้วร่ายโองการซึ่งมีหลาย สำนวนที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน ซึ่งนายหนังเรียนโองการนี้มาจากอาจารย์ ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาหนังตะลุง

  ?โอมชัยมหาชัย                กัญจัญไรได้ร้อยโยชน์
    หนีไกลไปพ้นโกฏิ             สรรพผีโภตบ่อทนทาน
    เบิกพระเนตรและบาดาล         ทำสะพานพูนถนน
    พระครูกูหนึ่งตน              ชื่อพระอุณรุทธชัยเถร
    พระฤาษีทั้งเจ็ดองค์            มาเข้ามณฑลกูเจ็ดวันเจ็ดคืน
    จึงหยิบเอาขวดแก้วน้ำมนต์นั้น      ไปรดต้นโพธิ์ต้นไทร
    รดทั้งสรรพสะเดียดจัญไร         ที่มีผีลีไท
    นโมพุทธัสกำจัดออกไป          นโมธัมมัสมากำจัดออกไป
    นโมสังฆัสมากำจัดออกไป         สรรพสะเดียดจัญไร
    อย่าเข้ามาใกล้ตัวกู             ณ พัทธสีมามณฑล?
   (ดนตรีทำเพลงเชิด หลบรูปฤาษีเข้าโรง) 

    ร่ายโองการหรือร่ายมนต์ฤาษีเป็นของเก่า หนังรุ่นแรก ๆ ผูกแต่งขึ้นเป็นภาษาถิ่น เช่น เดียด สะเดียด คือเสนียด ผีโภต คือภูตผี การออกฤาษีหรือชักฤาษี ถือเป็นศิลปะการเชิดขั้นสุดยอด หนังคณะใดจะเชิดรูปอื่น ๆ ได้ดีหรือไม่เพียงใด ดูที่การเชิดรูปฤาษีนี่เอง    





พระอิศวร
      รูปพระอิศวร ถือเป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเทพเจ้าแห่งความบันเทิง พระอิศวรจะทรงโคอุสุภราชหรือนนทิ หนังเรียก รูป พระอิศวรว่ารูปพระโค หรือรูปโค หนังคณะใดสามารถเลือกหนังวัวที่มีเท้าทั้ง 4 เป็นสีขาว โหนกสีขาว หน้าผากรูปใบโพสีขาว ขนหางสีขาว วัวประเภทนี้หายากมากถือเป็นมิ่งมงคล ตำราภาคใต้เรียกว่า ตีนด่าง หางดอก หนอกพาดผ้า หน้าใบโพ
     โคอุสุภราชมีสีเผือก แต่ช่างแกะรูปให้วัวเป็นสีดำนิล เจาะจงให้สีตัดกับสีรูปพระอิศวร ตามลัทธิพราหมณ์ พระอิศวรมี 4 กร ถือตรีศูล ธนู คทา และบาศ พระอิศวรรูปหนังตะลุงมีเพียง 2 กร ถือจักรและพระขรรค์เพื่อให้รูปกระทัดรัดสวยงาม
      รูปพระ อิศวร ออกเป็นลำดับที่ 2 ถัดจากรูปฤาษี เพลงประกอบเชิดใช้เพลงเชิดฉิ่ง เพลงพระยาเดิน และเพลงกราวนอก พระอิศวรสถิต อยู่ ณ เขาไกรลาศ ถือเป็นแดนสวรรค์ จึงเหาะลงมาจากเบื้องบน เริ่มแรกอยู่ห่างจากจอ เกิดเป็นเงาใหญ่ สั่นระรัว ซึ่งหมายถึงอิทธิฤทธิ์ เมื่อรูปเลยเขตจอแดนมนุษย์ลงมา ทาบรูปส่วนบนให้ติดกับจอ แสดงการก้าวกระโดดของโคอุสุภราช สะบัดเท้าหน้าเท้าหลัง มือผู้เชิดกระแทกกับหยวกกล้วยเป็นจังหวะ ไปด้านขวา 9 ครั้ง ไปด้านซ้าย 9 ครั้ง สลับกันไป การเชิดกลับซ้ายขวาจำนวนกี่ครั้งไม่มีเกณฑ์ตายตัว ไม่เกิน 2 นาที แล้วให้รูปห่างจากจอสั่นระรัวปักรูปกับหยวกโดยเร็ว ดนตรีหยุดบรรเลง แล้วเชิดเบา ๆ ประกอบการร่ายโองการ
     โองการหรือร่ายมนต์พระอิศวร มี 3 โองการ ทุกสำนวนมีเนื้อหาใกล้เคียงกัน เช่น

 ?โอมข้าจะไหว้ฤาษีชีเฒ่าอาจารย์       สั่งสอนครบถ้วนทุกประการ
เรื่องเล่นในโลกพสุธา                     กลางวันเล่นละครโนรา
คนเห็นประจักษ์ตา                       ประดับประดาด้วยเครื่องเรืองอุไร
ราเอ๋ยราตรีอัคคีแจ่มใส                  เอาหนังมาส่องแสงไฟ
แลดูเพริดพริ้งลวดลาย                  พรั่งพร้อมด้วยเครื่องประโคมทั้งหลาย
เชิดโฉมเฉิดฉาย                        รำร่ายอรอ้อนออ
เอาไม้ไผ่สี่ลำปักทำเป็นจอ               สี่มุมหุ้มห่อด้านหนึ่งขึงกั้นผ้าขาว
เอาหนังพระโคมาต่อตัด                เป็นรูปอิศวรนารายณ์จ้าว
กลางหาวล่องแล้วลับแสง               ลงการากษสสำแดง
อยุธยากล้าแข็ง                           มาเล่นหนังให้ท่านทั้งหลายดู
ยกสองเท้ารูปเชิดชู                     รบรอต่อสู้บ่มิได้หลบเลี่ยงเบี่ยงบัง
มีผ้าขาวกางกั้นกำบัง                    เป็นทับทาบตัวหนัง
ไฟส่องแสงไฟแลงาม                   เบื้องซ้ายข้าไหว้ท้าวราม
เบื้องขวาทรงนาม                       ปิ่นเกล้าท้าววรามณ์ศักดา
ขอให้มีสิริเดชา                          อันตรายอย่าได้บีฑา
จงช่วยห่อหุ้มคุ้มภัย                     ศรีศรีสวัสดีมีชัย
เล่นในสถานที่ใด                        ขอให้ลาภล้นสมหวัง
ศรีศรีสวัสดีมีลาภัง                    ห่อหุ้มคุ้มบัง
อันตรายอย่าได้มีมา? (ดนตรีเชิด หลบรูปพระอิศวรเข้าฉาก)




เจ้าเมือง

        เจ้าเมืองหรือพระราชา ส่วนมากจะเป็นพระบิดาของพระเอกหรือนางเอก ในบางเรื่องเจ้าเมืองมีบทบาทไม่มากนัก แต่บางเรื่องก็เป็นตัวสำคัญที่ทำให้ตัวเอกต้องเดินทางออกจากเมือง






นางเมือง


        เป็นมเหสีของเจ้าเมืองมีีบทบาทเป็นเพียงผู้ตามแม้บางครั้งจะเห็นว่าการที่เจ้าเมือง สั่งลงโทษพระโอรสหรือ พระธิดา ไม่เป็นการถูกต้องแต่มักมิได้คัดค้าน


พระเอก


         พระเอกในวรรณกรรมหนังตะลุงส่วนใหญ่จะเป็นโอรสกษัตริย์ แต่บางเรื่องพระเอกอาจจะอยู่ในฐานะ ของลูกตายาย ซึ่งเป็นคนจน พระเอกจะมีคุณสมบัติเป็นผู้มีความรู้ มีความสามารถ มีคุณธรรม มีอำนาจวิเศษเหนือมนุษย์ธรรมดา มีของวิเศษ เป็นอาวุธประจำกายซึ่งอาจได้รับจากฤาษีหรือเทวดา ตัวเอกฝ่ายชายส่วนใหญ่จะมีรูปร่างงามสง่า กล้าหาญ แต่มักจะเจ้าชู้มี ภรรยามาก


นางเอก
 
         นางเอกในวรรณกรรมหนังตะลุงส่วนใหญ่มักจะเป็นธิดาของกษัตริย์หรือธิดาของเจ้าเมืองยักษ์ หากเป็นธิดาของเจ้า เมืองยักษ ์มักจะเป็นผู้ที่ฤาษีนำมาชุบเลี้ยงไว้ หรือถูกบิดาส่งมาให้ศึกษาศิลปะวิชา นางเอกจะมีรูปร่างที่งดงาม จิตใจดีแทบ ทุกเรื่อง ในวรรณกรรมบางเรื่องนางเอกอยู่ในรูปกำบังคือมองไม่เห็นตัวหรืออยู่ในคราบที่น่าเกลียดน่ากลัวคล้ายๆ นางปีศาจ แต่ภายหลังก็ได้รับการแปลงโฉมให้งดงามเหมือนเดิม ลักษณะนิสัยอีกอย่างหนึ่งของนางเอกคือมีความซื่อสัตย์รักเดียวใจเดียว และมีความจงรักภักดีต่อสามี

 
นางเบียน

        นางเบียน หรือนางสองแขน หรืออีท้ายเด้งหรือนางกาข้า เป็นชื่อรูปหนังตะลุงตัวหนึ่ง เป็นตัวนางฝ่ายอธรรม รูปร่าง ลักษณะ นางเบียนมีหน้าตาขี้เหร่ ร่างใหญ่ หน้าแบน คิ้วหยัก มักมีไฝบนใบหน้า ผมยาวดัดลอนประบ่า ก้นงอนเชิด แขนยาวเคลื่อนไหวได้ทั้งสองข้าง ลักษณะนิสัย นางเบียนจะรับบทเป็นตัวโกงฝ่ายหญิงโดยมากเป็นชายาฝ่ายซ้ายของเจ้าเมือง จะคบหากับอำมาตย์ผู้คิดมิชอบต่อแผ่นดินคบหากับฤาษีผู้ไม่ตั้งมั่นในธรรม เพื่อแต่งกลและทำคุณไสยให้เจ้าเมืองหลงรัก เข้าพระทัยผิดพระชายาฝ่ายขวา ลงโทษชายาฝ่ายขวา และบุคคลอื่นที่นางไม่ชอบ ตอนต้นเรื่องนางเบียนจะทำการได้สำเร็จ แต่บั้นปลายเมื่อความจริงทุกอย่างปรากฏชัด นางจะได้รับโทษทัณฑ์อย่างแสนสาหัส จากวรรณคดีเก่า ๆ ที่หนังตะลุงนำมา แสดง ตัวนางเบียน ได้แก่นางจันทาในเรื่องสังข์ทอง และนางกาไวยในเรื่อง วรวงศ์ เป็นต้น เวลาพูดแสดงอาการดัดจริต ลากเสียงแหยะๆ ก้อร่อก้อติก ไร้กิริยาผู้ดี ลักษณะอาการทุกอย่าง ล้วนเป็นโทษสมบัติและค่านิยมต่ำ

ยักษ์


        ยักษ์เป็นตัวละครที่มีปรากฏในวรรณกรรมหนังตะลุงแทบทุกเรื่อง ยักษ์จะมีหลายสถานภาพตั้งแต่กษัตริย์ยักษ์ ธิดายักษ์ เสนายักษ์ ตลอดจนยักษีที่อาศัยอยู่ในป่า หาสัตว์ป่าและผลไม้กินเป็นอาหาร ยักษ์มีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวงอกโง้งมา นอกปาก ถือไม้ตะบองเป็นอาวุธ มีกิริยาทะลึ่งตึงตัง ชอบทำลายระรานผู้อื่นและมีความโลภ อยากได้อะไรก็ต้องได้ โดยไม่คำนึง ถึงความถูกผิดหรือบาปกรรม ส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ร้ายในเรื่อง แต่ช่วงปลายของเรื่องจะสำนึกตัวกลับตนเป็นคนดี




        

อ้ายหนูนุ้ย

       

นายยอดทอง

         

นายสีแก้ว

         

อ้ายสะหม้อ

         

อ้ายขวัญเมือง

        

อ้ายโถ


         

ผู้ใหญ่พูน

        






                         

องค์ประกอบในการแสดง


เครื่องดนตรีของหนังตะลุง 
หนังตะลุงคณะหนึ่งมีเครื่องดนตรีประกอบการเล่นประมาณ 6 อย่าง คือ


1.กลอง 1 ลูก (เป็นกลองขนาดเล็ก มีหนังหุ้มสองข้าง หน้ากลองเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างประมาณ 8-10 นิ้ว หัว-ท้ายเล็กกว่าตรงกลางเล็กน้อย กลองมีความยาวประมาณ10-20 นิ้ว ใช้ไม้ตี 2 อัน)


2.ทับ 2 ลูก (1 คู่) ในสมัยก่อนดนตรีหลักมีทับ 1 คู่สำหรับคุมจังหวะและเดินทำนอง (ทับ ทำด้วยไม้กลึงและเจาะข้างใน ลักษณะคล้ายกลองยาวแต่ส่วนท้ายสั้นกว่าและขนาดย่อมกว่า หุ้มด้วยหนังบางๆ เช่น หนังค่าง) ทับทั้ง 2 ลูกนี้มีขนาดต่างกันเล็กน้อยเพื่อให้ได้เสียงต่างกัน และสมัยก่อนมีขนาดโตกว่าปัจจุบัน


3.ฉิ่ง 1 คู่



4.โหม่ง 1 คู่ เสียงสูงลูกหนึ่ง ใช้สำหรับประกอบเสียงขับกลอน (โหม่งทั้งคู่ แขวนตรึงขนานกันอยู่ในรางไม้ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวโหม่งทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดง ถ้าหล่อกลมแบบฆ้องขนาดฆ้องวงเรียกว่า "โหม่งหล่อ" ถ้าทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วดุนให้ส่วนที่จะตีสูงกลมขึ้นกลางแผ่นเรียกว่า โหม่งฟาก)



5.ปี่ 1 เลา


6.กรับ หรือ แกระ 1 คู่ (ใช้เคาะรางกับโหม่ง) สำหรับประกอบจังหวะ
บางคณะอาจจะมีซออีก 1 สาย เป็นซอด้วงมากกว่าซออู้ เพราะเสียงเข้ากับเสี่ยงปี่ได้สนิทกว่า การบรรเลงดนตรี นอกจากโหมโรง (ชาวใต้เรียกว่าลงโรง) แล้วก็บรรเลงสลับไปตลอดการแสดง มักบรรเลงตอนขับกลอน ตอนเจรจาจะหยุดบรรเลง (อาจจะตีเครื่องให้จังหวะประกอบบ้าง)

เพลงที่ใช้บรรเลง คือ เพลงโหมโรงใช้เพลงทับ ตอนดำเนินเรื่องใช้เพลงทับบ้าง เพลงปี่บ้าง (เพลงทับคือเพลงที่ถือเอาจังหวะทับเป็นเอก เพลงปี่คือเพลงที่ใช้ปี่เดินทำนองเพลงซึ่งโดยมากใช้เพลงไทยเดิม แต่ปัจจุบันใช้เพลงไทยสากลและเพลงสากลก็มี ปัจจุบันหนังตะลุงนิยมนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาประสม เช่น บางคณะใช้กลองดนตรีสากล ไวโอลิน กีตาร์ ออร์แกน แทนเครื่องดนตรีเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายยิ่ง

ประวัติความเป็นมา

                 
         หนังตะลุง เป็นศิลปะการละเล่นพื้นเมืองชนิดหนึ่งในภาคใต้ ไม่มีประวัติความเป็นมาที่แน่นอน เป็นศิลปะการแสดงที่มีทั้งบทพากษ์ และบทเจรจา พบได้บริเวณที่ต่างๆ เช่น อียิปต์ จีน อินเดีย ตุรกี และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
         หนังตะลุงไทยมี 2 แบบ คือ หนังใหญ่ และ หนังตะลุง วายังเซียม วายังยาวอ ( ซึ่งทั้ง 3 ชนิดนี้พบในภาคใต้ของไทย และบางส่วนของภาคกลางในอดีต ) นิยมกันอย่างกว้างขวางในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะชายฝั่งตะวันออก ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง  ส่วนวายังเซียม และวายังยาวอ มีในบริเวณที่มีคนไทยมุสลิมโดยเฉพาะ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
         ในภาคใต้โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช  สงขลา ตรัง พัทลุง และชุมพร จะมีการแสดงหนังตะลุงค่อนข้างบ่อย ด้วยเป็นสิ่งที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวบ้านอย่างเห็นได้ชัด เมื่อมีการจัดงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือจังหวัด ก็มักจะมีหนังตะลุงมาแสดงอยู่ด้วยเสมอ งานหรือกิจกรรมใดๆที่ไม่มีหนังตะลุงแสดง มักจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากชาวบ้านว่า งานนั้นจืด กร่อย ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นอนาคตของหนังตะลุงได้อย่างแจ่มชัดว่า จะยังคงได้รับความนิยมชมชอบจากชาวบ้านอยู่อย่างกว้างขวางไม่แพ้ยุคสมัยที่ผ่านมา โดยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดง ที่แตกต่างกันตามพื้นที่ เท่าที่ทราบ ในปัจจุบันมี 3 รูปแบบ คือ
      1. หนังตะลุงตะวันออก เป็นรูปแบบการแสดงของกลุ่มชนแถบทะเลฝั่งตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสงขลา   
      2. หนังตะลุงตะวันตก เป็นภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยที่สำคัญอย่างหนึ่งของกลุ่มชนแถบฝั่งอันดามัน เช่น จังหวัดพังงา ภูเก็ต ( มีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างกัน ทั้งในการขับร้องบท การเจรจา รูปหนังและธรรมเนียมการเล่น ส่วนองค์ประกอบในการแสดงอื่นๆ มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน )
      3. หนังตะลุงมลายู หรือวายังกูลิต ชาวไทยมุสลิมเรียกว่า วอแยกูเละ หรือวายังกูเละ เป็นศิลปะการเล่นเงาที่นิยมแสดงกันมาช้านาน ในพื้นที่บริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ( ใต้...หรอย มีลุย. 2547,55 )

http://download.clib.psu.ac.th/datawebclib/exhonline/talung/page1.html